วันนี้ เรามารู้จักคำว่า 𝐁𝐫𝐞𝐚𝐤𝐚𝐠𝐞 ซึ่งอย่าสับสนกับคำว่า Breakdown
- tutlisa7
- Aug 5, 2024
- 1 min read
ในการจัดการรายได้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว "เบรกเกจ" หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการใช้บริการหรือสินค้าที่ถูกชำระเงินล่วงหน้าแต่ไม่ได้ถูกใช้หมด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ ผู้บริโภคชำระเงินล่วงหน้าสำหรับบางสิ่งบางอย่างแต่ไม่ได้ใช้มันเต็มที่
ยกตัวอย่างเช่น:
การจองโรงแรมที่ไม่สามารถคืนเงินได้ พวก non-refundable ต่างๆ หรือแม้แต่ cancellation charge, no show charge, late amendment charge, etc.:
เมื่อผู้บริโภคจองห้องพักที่ไม่สามารถคืนเงินได้แต่ยกเลิกหรือไม่มาเช็คอิน โรงแรมจะเก็บเงินชำระนั้นโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการ
Voucher ห้องพักที่โรงแรมขายกันที่ไทยเที่ยวไทย รวมถึงที่ขายออนไลน์:
หากผู้บริโภคซื้อ voucher แต่ไม่เคยนำไปใช้ หรือ หมดอายุไปเสียก่อน ผู้ออก voucher จะเก็บรายได้นั้นโดยไม่ต้องให้สินค้าและบริการใดๆ เวลาจะตั้งราคาขาย voucher ล่วงหน้า เราจึงเอาอัตราการใช้ voucher มาคิดคำนวณด้วยเพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมขายได้ถูก โรงแรมไม่ขาดทุนหรอกครับ เพราะลูกค้าไม่เคยใช้ 100% นั่นเอง
การเป็นสมาชิกและการสมัครสมาชิกรายเดือน:
เมื่อผู้บริโภคชำระเงินสำหรับการเป็นสมาชิกหรือสมัครสมาชิกรายเดือน แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิ์ทั้งหมด ธุรกิจจะเก็บรายได้จากส่วนที่ไม่ได้ใช้
เบรกเกจอาจเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับธุรกิจ แต่ก็ต้องการการจัดการที่ระมัดระวังเพื่อสมดุลระหว่างความพึงพอใจของลูกค้าและ Loyalty ในระยะยาวกับผลกำไรที่ได้ในทันทีจาก strategies นั้นๆ
นอกเหนือจากนี้ 𝐑𝐞𝐯𝐞𝐧𝐮𝐞 𝐌𝐚𝐧𝐚𝐠𝐞𝐫 ยังต้องสังเกตตัวเลข และ deep dive ด้วยเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปกติ ยกตัวอย่างเช่น ADR สูงขึ้นอย่างมีนัยยะ เพราะมีสถานการณ์บางอย่างเกิดขึ้น ทำให้เกิดการยกเลิกการจองที่โรงแรมไม่สามารถคืนเงินได้ รายได้จาก breakage สูงขึ้นอย่างมากจากสถานการณ์ใด สิ่งนี้ก็ต้องทราบด้วย เพราะ ADR/Guest Value ที่สูงขึ้นจากเบรกเกจ ไม่ใช่ perceived value ต่อสินค้าและบริการที่สูงขึ้นของลูกค้า
มีสิ่งที่ต้องคิด วิเคราะห์ และจับตามองมากมาย มิน่า บรรดามนุษย์ 𝐑𝐞𝐯𝐞𝐧𝐮𝐞 𝐌𝐚𝐧𝐚𝐠𝐞𝐦𝐞𝐧𝐭 ถึงดูยุ่งๆกันตลอด
Happy Friday to all!

Comments